ปัญหาการศึกษา


 ปัญหาการศึกษา



HTTPS://WWW.GOOGLE.CO.TH/SEARCH?


พระธรรมปิฎก(ป..ปยุตโต) พระสงฆ์นักวิชาการกล่าวว่า เราไม่ไดทำการศึกษาให้เป็นแกนนำที่จะเปลี่ยนสังคม แต่ใช้การศึกษาสนองความต้องการของสังคมในเรื่องเศรษฐกิจ จึงเป็นการศึกษาที่ผิด
          “…การศึกษาที่แท้ ต้องเป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลงถึงขั้นรากฐาน ถึงขั้นความคิดจิตใจ ค่านิยมและภูมิปัญญา การศึกษาเพื่อการพัฒนา จึงไม่ใช่เพียงการพัฒนาคนให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงาน แต่จะต้องเป็นการพัฒนาคน เพื่อความเป็นคนที่มีคุณภาพรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย ปัญญา การเงิน และคุณค่าของสังคม
         พระธรรมปิฎกชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจต้องเกื้อหนุนการศึกษา เมื่อทำการศึกษาได้ผล คนก็จะขวานขวายทำมาหากินเศรษฐกิจของส่วนรวมก็จะดีขึ้นอย่างอัตโนมัติ
         แม้เราได้ปรับปรุงการศึกษาของเราแล้ว มีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.. 2542 นั้น ก็ยังดำเนินการไปไม่ได้มาก การศึกษาขั้นอุดมในปัจจุบัน ไม่ได้ทำหนาที่บางอย่างที่ควรทำคือช่วยบ้านเมืองแก้ปัญหา อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความเห็นว่า คนที่เข้ามหาวิทยาลัยได้ส่วนใหญ่เป็นลูกคนชั้นกลางที่เศรษฐกิจอำนวย เข้าไปใช้ชีวิตสนุกสบายในมหาวิทยาลัยแทนที่จะฝึกทำงานหนัก เช่น เข้าไปพัฒนาชนบทไทยซึ่งมีปัญหาอยู่มาก ผู้เขียนเตือนมหาวิทยาลัยให้พิจารณาบทบาทของตนว่าอยู่ในฐานะอะไร และมีหน้าที่อย่างไรต่อบ้านเมือง

         เราควรเลิกภูมิเรื่องใจอัตราผู้ไม่รู้หนังสือของเราต่ำ ในปี 2546 นี่เอง กรมการศึกษานอกโรงเรียนแถลงว่า กรม… เช่าช้างเชือกละ 400 บาทต่อวัน เพื่อบรรทุกหนังสือและอุปกรณ์การเรียนไปสอนคนในหมู่บ้านที่รถยนต์เข้าไม่ถึง ไม่ปรากฏว่าผู้ที่ไม่สำเร็จประถม 4 แล้วอ่านหนังสือไม่ออกมีจำนวนเท่าไร แต่ที่เยนสำเร็จแล้วไม่เคยจับหนังสือขึ้นมาอ่าน เลยลืมหมดแล้วนั้นมีจำนวนเท่าไร คนไทยเป็นแชมป์โลกแห่งการไม่ชอบอ่านหนังสือ การศึกษาจะมีประโยชน์แท้จริง ต้องเป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต

อ้างอิง  
รศ. ดรทวีรัสมิ์ ธนาคม.(2547).เรื่องเล็ก..ที่เป็นเรื่องใหญ่.            

           พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:ไพร์ม ทีม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น