ปัญหาครอบครัวไทย

ปัญหาครอบครัวไทย

HTTPS://WWW.GOOGLE.CO.TH/SEARCH?

       เมื่อเคี่ยวปัญหาต่างๆที่กล่าวมาโดยตลอดให้งวดลงก็จะพบว่าต้นเหตุหรือแหล่งที่ก่อปัญหา คือ ครอบครัวไทย ที่มิได้เลี้ยงดูให้เด็กแข็งแกร่ง ไม่เลื่อนไหลไปตามกระแสความผิดร้ายต่างๆจากนอกครอบครัว สาเหตุของปัญหาอาจประมวลได้โดยย่อดังต่อไปนี้
1. รูปแบบและประเภทของครอบครัวที่เปลี่ยนไป
ครอบครัวขยาย  (Exteended family) ที่เคยทำให้บ้านอุ่นหนาฝาคั่งไปด้วย ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา เปลี่ยนเป็นครอบครัวเดียว
- ครอบครัวเดี่ยว  (Nuclear family) มีแต่พ่อ แม่ ลูก ซ้ำร้ายเกิดภาวะบ้านแตก พ่อแม่หย่ากัน แยกกัน หรือฝ่ายหนึ่งตายจากไป เกิด ครอบครัวไร้คู่ เด็กมักต้องอยู่กับแม่ ซึ่งมีการงานหาเลี้ยงตนและลูก ไม่สามารถสนองความต้องการทุกอย่างของลูกได้ โดยเฉพาะการให้เวลา
2. การขาการศึกษาเพื่อเป็นพ่อแม่ที่ดี
          การเลี้ยงเด็กให้ดีต้องการตำรายิ่งกว่าการเลี่ยงเป็ดไก่ ฯลฯ การศึกษาเพื่อการเป็นพ่อแม่ (Parent Education)  ซึ่งควรมีในหลักสูตรก็ไม่มี วิชาคหกรรมศาสตร์สอนเรื่องนี้ แต่การจัดการศึกษาด้านนี้ก็ขาดความเข้มข้นเอาใจใส่ จากผู้บริหารการศึกษา พ่อแม่จึงมักไม่มีความรู้ความสามารถ สร้างการเลี้ยงดูที่ถูกต้องให้แก่ลูก ทั้งที่ความรู้จากนอกชั้นเรียน นอกโรงเรียนมีมากมาย
3. การขาดที่พึ่งในสถานศึกษา
          ผู้ที่มาเป็นครุทุกคนไม่ได้มีความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็ก ถ้าไม่มีใจรักความเป็นครู รักเด็กที่จะให้เติบโตดี สภาพโรงเรียนก็ไร้ค่าไปมาก ยิ่งไปกว่านั้น ครูในสมัยวัตถุนิยมยังมีปัญหาร้อยแปดเรื่องส่วนตัว มีหนี้สิน มีภาระครอบครัวของตนเอง
4. ขาดการปะสานงานระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน 
        มีโครงการ บ..(บ้าน วัด โรงเรียน) เน้นให้ทำงานร่วมกัน แต่คนไทยที่เข้าวัดไปหาความรู้ทางศาสนาก็มีไม่น้อย ขาดความรู้พื้นฐานที่เป็นพระธรรมคำสอน เช่น อัตตาหิ อตโนนาโถ (ตนของตนนั่นแหละ ที่เป็นที่พึ่งแห่งตน) ซึงมิใช่การพึ่งพาทางกายเท่านั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้แนะ ผู้รับคำสอนต้องนำไปปฏิบัติ ตามเองโดยเฉพาะการลด ละ เลิกกิเลส คนไทยมักทำบุญ มักทุ่มเทเงินทองเป็นอามิสบูชา ซึ่งพระองค์รับสั่งว่าไม่ต้องการให้ปฏิบัติบูชา ให้ทำตัวมีศีลสัตย์ตามพระธรรมที่ตรัสไว้โรงเรียนก็ใคร่สนใจเรื่องศีลธรรมให้คะแนนต่ำมากคนเรียนมักเรียนเพื่อคะแนน ไม่สนใจวิชานี้
        ลักษณะประชาธิปไตยของพุทธศาสนา ขาดการบังคับให้ปฏิบัติตาม เช่น ศาสนาอิสราม และศาสนาคริสต์
5. เทคโนโลยีให้โทษ
        เครื่องมือทันสมัยต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ถูกใช้ไปในทางที่ผิด เด็กนิยมเล่นเกมกด แทนที่จะศึกษาเล่าเรียนทบทวนเรื่องที่เรียนในโรงเรียนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง พ่อแม่ก็ควบคุมไม่ได้ แม่คนหนึ่งกลุ้มใจลูกเรื่องนี้ ถึงกับไปกระโดดตึกตาย ในสังคมก็มีเครื่องล่อให้ทำผิดมากมาย
6. การบริหารบ้านเมืองที่เน้นเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าสังคม
       รัฐบาลห่วงแต่ จี.ดี.พีทุ่มเทเงินให้ปรนรัฐบาลประชานิยม ผู้รับมีแต่หนี้สิน ฝากความหวังไว้ในการพนัน สลากกินแบ่งฯ หวย ฯลฯ ซึงทำให้คนยากจนลงเพราะทุ่มเทเงินทองในลาภลอย เงินซึ่งมีน้อยก็มิได้ใช้ประโยชน์ของความอยู่เย็นเป็นสุขของตนและครอบครัว ไม่มีเงินไปช่วยกระจายรายได้ให้สังคม
7. การเปลี่ยนแปลงของสภาพของสังคมไทย
       ชีวิตแต่เดิมซึ่งคนยึด มีน้อย ใช้น้อยค่อยบรรจง เปลี่ยนมาเป็น มีน้อยใช้มาก วัตถุนิยมนำผลเสียมากมายดังที่มีผู้เขียนไว้
        “ทุกคนมุ่งใช้ชีวิตเพื่อการอยู่รอดให้ความสำคัญแก่เงินตรา อำนาจ ตำแหน่ง คนมีเกียรติในสังคมคือคนรวย คนมีตำแหน่งสูง มีอำนาจ ชื่อเสียง แม้ว่าจะประพฤติผิดศีลธรรม ได้เงินมาอย่างทุจริต คดโกง เห็นแก่ตัวและพรรคพวก จริยธรรมถูกละเลย ความซื่อสัตย์ สุจริต เมตตา กรุณา ประหยัดหายไป ซ้ำยังไม่เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพราะเห็นตัวอย่างคนชั่วได้ดีมากมาย ไม่สามารถทานสิ่งยั่วยุที่ชักจูงให้ทำชั่วได้ ไม่รู้จักพอ ไม่มีน้ำใจ ฟุ้งเฟ้อ แข่งความโก้หรูกัน

       สรุปได้ว่า ปัญหาในสังคมไทยนั้นหนักหนาสาหัสถ้าผู้ปกครองและครูทำงานร่วมกัน เช่นที่ คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ เขียนไว้ในหนังสือเล่มน้อย ฝากลูกไว้กับครูโดยการติดต่อกับผู้ปกครองท่านสามารถช่วยให้เด็กกลับไปเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ได้

อ้างอิง  
รศ. ดรทวีรัสมิ์ ธนาคม.(2547).เรื่องเล็ก..ที่เป็นเรื่องใหญ่.            

           พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:ไพร์ม ทีม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น