ปัญหาสิ่งแวดล้อม

 ปัญหาสิงแวดล้อม

HTTPS://WWW.GOOGLE.CO.TH/SEARCH?

1. ความหมาย : ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาสิ่งมีชีวิตในแหล่งอาศัย การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่        
         สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่มีและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่ง จะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ประเภทของสิ่งแวดล้อม : อันตราย
1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
เรื่องสิ่งแวดล้อมมีข้อมูลที่น่าสะพรึงกลัวทั้งสิ้น คือ
ทะเลสาบและมหาสมุทรมีอยู่ 71 เปอร์เซ็นต์ บนพื้นผิวโลก เป็นแหล่งอาศัยของพืชพรรณและสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์กำลัวถูกทำลายโดยมนุษย์ ซึ่งทิ้งปฏิกูลของเสียและสารพิษลงในแหล่งน้ำต่างๆจนเกิดมลภาวะ
หินปะการัง ป่าชายเลน และบริเวณริมชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์กำลังเสื่อมโทรม
การตัดไม้ทำลายป่า เนื้อดินถูกกัดกร่อนจนกลายเป็นทะเลทราย
ชั้นโอโซนสตราโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องห่อหุ้มโลก ที่เคยทำหน้าที่เก็บซับรังสีอัลตราไวโอเล็ตที่เป็นอันตรายส่วนมากเอาไว้กำลังจะหดหายไป เพราะการใช้สารเคมีคลอโรฟูออโรคาร์บอน ฯลฯ
          สรุปได้ว่าประเทศไทยได้รับอันตรายมหาศาลจากการทำลายสิงแวดล้อมของตนเอง
3. ปัญหาทรัพยากรป่าไม้ : ป่าไม้เป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัย 4 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ รักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อม
          ป่า 2 ประเภทใหญ่ คือ ป่าผลัดใบ ไม่ผลัดใบ ป่าผลัดใบที่ถูกทำลาย คือ ป่าสนเขา ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าชายหาด ส่วนป่าที่ไม่ผลัดใบ คือ ป่าเบญจพรรณ มีไม่สำคัญๆ เช่น สัก ประดู่ แดง มะค่าโมง ฯลฯ เมื่อป่าถูกทำลายพื้นดินจะขาดพืชปกคลุม ฝนตกลงมาก็ชำระหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อขาดต้นไม้ที่คอยดูดซับน้ำเอาไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน พอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงลำธาร ทำให้น้ำน้อย ขาดน้ำสำหรับชลประทานน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า
        สำคัญที่สุด คือ เมื่อหมดป่าสัตว์ป่าก็หมดไปด้วย “ในปี พ.. 2543 มีพื้นที่เพียง 109 ล้านไร่ หรือ 33.96%ของพื้นที่ประเทศไทย จากที่เคยมี 171 ล้านไร่ หรือ 53.33% ในปี 2504 ในช่วงระยะเวลา 39 ปี พ..2504-2543 พื้นที่ป่าลดลง 62 ล้านไร่ หรือลดลงเฉลี่ยปีละ 1.56 ล้านไร่
       บทบาทนี้อธิบายสาเหตูสำคัญว่าการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจโดยเน้นการผลิตมหภาค มีการผ่อนปรนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าไม้ ทำให้มีการบุกรุกป่ามากขึ้นโชคดีของคนไทย พระราชเสาวนีย์ของพระบรมราชินีนาถเมื่อ 12 สิงหาคม 2546 ทำให้เกิดแผนแม่บทป่าไม้แห่งชาติ ปี 2547-2556 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแผนฟื้นฟูธรรมชาติ ทรัพยากรป่าไม้ ปรับปรุงกฎหมายระเบียบ ฟื้นฟูป่าธรรมชาติและป่าชุมชน ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไม้ต่อเนื่อง
4. ทรัพยากรสัตว์ป่า : สัตว์ที่กำเนิดและอยู่ในป่า ในน้ำหมายรวมไปถึงชนิดของสัตว์นั้นๆด้วย มีสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก(ไม่รวมสัตว์พาหนะ) สัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองมีน้อยลง เพราะป่าไม้ถูกทำลายและการไล่ล่าของมนุษย์บางชนิดสูญพันธุ์ บางชนิดใกล้สูญพันธุ์
          ปัญหาที่เกิดแก่สัตว์ป่า ถ้าไม่มีสัตว์ป่าก็ไม่มีป่า ซึ่งขณะนี้มีปัญหา ถูกล่า ทำลาย สูญพันธุ์เพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมหรือเกิดภัยธรรมชาติ การนำสัตว์ป่าต่างถิ่นเข้าไปถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลายโดยการถางป่า เผาเพื่อการเกษตรตายเพราะสารพิษในพืชตกค้าง และไฟป่าทำลายแหล่งอาหารของสัตว์
5. ทรัพยากรดิน : ดินเกิดจากหินผุกร่อน ซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ กลายเป็นดิน พืชที่บริโภคมาจากการเกษตรกรรม 90%  ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ตั้งบ้านเรือน เมือง ฯลฯ และเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ
         ปัญหาทรัพยากรดิน เกิดขึ้นเพราะถูกกัดเซาะพังทลายโดยน้ำ การตัดไม้ ทำลายป่า เป็นการเปิดหน้าดินถูกชะล้างง่ายโดยน้ำและลม และการเพาะปลูกเตรียมดินอย่างไม่ถูกวิธี พืชบางชนิดทำให้ดินเสื่อม การเผาป่าหรือตอข้าว ทำให้ฮิวมัสในดินเสื่อม
6. ปัญหาทรัพยากรป่าชายเลน : อยู่ตามบริเวณชายฝั่งสิ่งมีชีวิตซึ่งบุกเบิกลงไปสู่ทะเล ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์นานาชนิด น้ำทะเลขึ้นลง ดินเลนมีสารอินทรีย์เป็นจำนวนมากมีประโยชน์ต่อมนุษย์นานับประการ กิจกรรมต่างๆที่ทำลายป่าชายเลน คือ การบุกรุกทำลายป่า เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น เลี้ยงกุ้งทำเกษตรกรรม ทำเหมืองแร่ ชุมชนขยายตัว ก่อสร้างท่าเทียบเรือ สร้างอู่ต่อเรือ สะพาปลา สร้างถนน สายส่งไฟฟ้า ก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และการขุดรอกร่องน้ำ
        ผลเสียที่เกิดแก่ป่าชายเลน คือ อุณหภูมิเปลี่ยน ปริมาณธาตุอาหารเปลี่ยน ความเค็ม สภาพทางอุทกวิทยา การตกตะกอนปริมาณมลพิษในน้ำ ฯลฯ ทางชีววิทยา ลดจำนวนพรรณไม้ ลดการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ สูญเสียไม้หายาก สะสมสารพิษ ทำลายที่อยู่อาศัยธรรมชาติของสัตว์น้ำ
7. ปัญหาปะการัง : 22 จังหวัดของไทยมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวมกันยาว 2,600 กิโลเมตรายฝั่งมีหาดทราย ป่าชายเลน ชายทะเล ปะการัง
        ปะการังเป็นสัตว์ขนาดเล็ก สร้างหินปูนหุ้มตัวไว้ต่อกันเป็นกิ่งก้าน เติบโตได้ดีในน้ำอุณหภูมิ 18-27 องศาเซลเซียส น้ำลึกไม่เกิน 50 เมตร มีอยู่ในน่านน้ำเขตอบอุ่นของโลกเท่านั้น
8. ปัญหาทรัพยากรน้ำ : มลพิษทางน้ำเกิดขึ้นเพราะมีน้ำน้อยเกินไป ผลของการตัดไม้ทำลายป่า มีน้ำมากเกินไป น้ำท่วมปัญหาน้ำเสีย น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะปฏิกูล ขยะมูลฝอย น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำฝนพาสารพิษตกค้างจากแหล่งน้ำเกษตรกรรม น้ำเสียทำให้สัตว์ซึ่งเป็นอาหารอยู่ไม่ได้
        กรมควบคุมมลพิษสำรวจแหล่งน้ำและแม่น้ำทั่วประเทศพบว่าอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 18 พอใช้ร้อยละ 40 คุณภาพต่ำร้อยละ 33 ต่ำมากร้อยละ 9
สิ่งปนเปือที่ทำให้น้ำเสียแบ่งออกเป็น 13 ชนิด คือ สารอินทรีย์มาจากส่วนของสิ่งมีชีวิต เช่น เศษอาหาร ธาตุอาหารจำพวกไนโตรเจน และฟอสฟอรัสจากปุ๋ย โลหะหนัก และสารพิษส่วนใหญ่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำมัน และสารลอยน้ำมาจากการเดินเรือและขนส่ง สารของแข้งทั้งที่สามารถละลายในน้ำได้ และแขวนลอย จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น เชื้อแบคทีเรียหรือ พยาธิความร้อนจากน้ำทิ้งอุณหภูมิสูงจากระบบหล่อเย็นในโรงงาน สีจากน้ำทิ้งของโรงงานฟอกย้อมสารทำให้เกิดฟองน้ำทิ้งจากการซักล้าง กรดและด่างทิ้งจากโรงงานเยื่อกระดาษ กลิ่นน้ำทิ้งจากผลิตภัณฑ์อาหาร และสารกัมมันตภาพรังสีจากกระบวนการผลิต  น้ำเสียเกิดจากของเสียในชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมภาคเกษตรกรรม การทำเหมืองแร่ การทำลายป่า การท่องเที่ยวทางน้ำ
        ผลเสียจากน้ำ คือ ขาดน้ำสะอาดสำหรับดื่ม เป็นโรคติดต่อที่มีเชื้อไม่มีอาหารจากแม่น้ำ สัตว์อยู่ไม่ได้เพราะขาดออกซิเจน ไม่มีน้ำทำการเกษตร ต้นทุนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมสูง ทำลายความหลากหลายของพันธุ์พืชสัตว์ และทำลายภูมิทัศน์ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ
        แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน โดยเฉพาะในช่วงตอนล่าง (ตั่งแต่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ถึง ปากน้ำ จสมุทรสาคร) แม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงตอนล่าง (โดยเฉพาะในช่วงที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานคร จนถึงปากแม่น้ำ อเมือง จสมุทรปราการ) ลำตะคองตอนล่าง (ท้ายอ่างเก็บน้ำลำตะคองไปจนถึง จ.นครราชสีมา) และทะเลสาบสงขลา
        แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำในภาคกลาง ได้แก่เจ้าพระยาในช่วงตอนกลางและตอนบน ท่าจีนตอนบน ป่าสักน้อย และลพบุรี ภาคเหนือ ได้แก่  ปิง วัง ยม น่าน กวง และกว๊านเจ้าพะเยา ภาคใต้ ได้แก่ ปากพนัง และทะเลหลวง ภาคตะวันออก ได้แก่ บางปะกง นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และพังราด
9. ปัญหาการเสื่อมโทรมของแนวปะการัง : สาเหตุเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ และเสื่อมเพราะการกระทำของมนุษย์เพราะถูกทำลายโดยคลื่นรุนแรง เกิดโดยลมพายุ ถูกสัตว์ทะเลบางชนิดกัดกินโครงแข็ง บางชนิดกินเนื้อปะการัง คนเก็บปะการังไปทำของที่ระลึกคนจอดเรือในแนวปะการัง ทำให้แนวปะการังเสียหาย การปล่อยน้ำเสียจากอุตสาหกรรม ทำให้ปะการังตาย การก่อสร้างริมทะเล ตะกอนดินตกลงริมทะเลทับถมปะการัง ทำให้ปะการังตาย ระเบิดปลา ทำลายปะการังรุแรงขยะในทะเลทำให้แนวปะการังเสีย
10. มลพาในอากาศ : อากาสบริสุทธ์ประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน 78.09% ออกซิเจน0.01% เมื่อมีฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่นหมอกควัน ไอ ไอน้ำ เขม่า กัมมันตภาพังสีเจือปนอยู่ในอากาศมากเกินไป ก็เกิดมลพิษทางอากาศ
มวลสารที่ทำให้อากาศเป็นอันตราย คือ
มีอนุภาคสาร ควัน ฝุ่น ไอ หมอก ฯลฯ
คาร์บอนมอนอกไซด์  เกิดจากคาร์บอนในเชื้อเพลิงเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ถาได้ปริมาณมากถึงจะตาย เมื่อเข้าไปในร่างกายถึงจะไปรวมกับเฮโมโกลบิน เกิดคาร์บอกซีเฮโมโกลบินแทนที่ออกซิเจนเมื่อเลือดไปสู่เซลล์ขาดออกซิเจน อาจทำให้ถึงตายได้
คาร์บอนไดออกไซด์  ทำให้อากาศบริสุทธิ์เสียคาร์บอนไดออกไซด์ไปสะสมอยู่ในชั้นบนของบรรยากาศ แสงแดดกระทบพื้นโลกสะท้อนกลับสู่บรรยากาศ  จะทะลุชั้นคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปไม่ได้ ทำให้ผิวโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์  เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรมการถลุงโลหะแร่ เมื่อปล่อยออกสู่บรรยากาศจะทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดกรดซัลฟิวริก เป็นอันตรายต่อมนุษย์และพืช ก๊าซซัลฟิวริกในบรรยากาศ ทำปฏิกิริยากับความชื้น เจือปนอยู่ในฝน เรียกว่า ฝนกรด ทำให้ต้นไม้แคระแกรน ผลผลิตน้อยลง
 - ไนโตรเจนไดออกไซด์  เมื่อเชื้อเพลิงเผาไหม้เกิดก๊าซไนตริกไดออกไซด์ กับไนโตรเจนไดออกไซด์ ไนตริกทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เปลี่ยนเป็นไนโตรเจนไดออไซด์ เป็นก๊าซพิษในที่อุณหภูมิสูง ไนโตรเจนไดออกไซด์เมื่อรวมตัวกับน้ำจะเกิดกรดไนตริก ไนโตรเจนไดออกไซด์ที่เข้มข้นจะทำอันตรายปอด ทำให้ปอดอักเสบ เนื้องอกในปอด และหลอดลมตีบ ถ้าพืชได้รับน้ำหนัก จะลด/หยุดเติบโต ใบเหี่ยว
ตะกั่ว  ละอองตะกั่วเกิดจากเผาไหม้ของเบนซินจากท่อไอเสีย นอกจากนี้มีในแบตเตอรี่รถยนต์ ละอองตะกั่ว ในอากาศเมื่อหายใจเข้าไปจะเป็นอันตรายแก่ระบบประสาท ไต ทางเดินอาหาร ตับ หัวใจ ระบบสืบพันธุ์ เกิดโรคโลหิตทางเม็ดเลือดแดง อายุสั้น หญิงมีครรภ์ได้รับจะเข้าไปถึงทารกในครรภ์
         ข้อควรจำ : สารตะกั่วสะสมอยู่ในกระดูก เม็ดเลือดได้นาน
 -ไฮโดรคาร์บอน  อยู่ในรูปฟอร์มาดีไฮด์ อัลดีไฮด์ คีโตน ทำให้แสบตา แสบจมูก น้ำตาไหล น้ำมูกไหล
โฟโตเคมีคอลโปรดัก  เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของก๊าซต่างๆในบรรยากาศ ทำให้สีอาหารซีด โลหะผุกร่อน
11. ปัญหาทรัพยากรแร่ธาตุ : ใช้ในอุตสาหกรรมและพลังงาน ประโยชน์ขึ้นอยู่กับความต้องการนำไปใช้ของมนุษย์ ได้มาจากแผ่นดิน ลดลงจนในปัจจุบันต้องพยายามหาแร่ธาตุในทะเล เช่น น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ เปลี่ยนจากใช้ถ่านหินมาใช้น้ำมันปิโตรเลียม เปลี่ยนจากใช้เหล็กมาใช้อะลูมิเนียมแทน
          แร่มีคุณสมบัติต่างกัน วุลแฟรม นำมาใส่หลอดไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว พลวงใช้ทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำสีแบตเตอรี่ รัตนชาติ ใช้ทำเครื่องประดับ
         ปัญหาเกิดจากแร่ธาตุ เพราะ
1.บริเวณที่ทำเหมืองแร่แล้ว เป็นหลุมบ่อ ขรุขระ น้ำสกปรก สภาพดินไม่สมบูรณ์จึงถูกปล่อยทิ้ง
2.บางชนิด เหล็ก ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก ถูกนำมาใช้มาก
3.เหล็กนำกลับไปใช้ได้อีก แต่แร่ธาตุอื่นๆในข้อ 2 ใช้แล้วหมดไป ต้องประหยัดมาก
12. มลพิษทางอากาศ : อันตราย เสียงดังปกติที่มนุษย์ได้ยินอยู่ในระดับความดัง 0-27 เดซิเบล ต้องไม่เกิน 35 ดังเกิน 85 เดซิเบล เป็นอันตรายแก่หูและอวัยวะอื่นถึงขั้นพิการ เสียงอันตราย คือ เสียงดังเกิน 85 เดซิเบล ในกรุงเทพฯ รถยนต์ รถบรรทุก สามล้อเครื่อง มีความดังเกิน 90 เดซิเบล                                   เสียงดังทำให้อวัยวะรับเสียงสั่นสะเทือน แม้ว่าภายในหูชั้นกลางจะมีกล้ามเนื้อเล็กๆไว้คอยกันความสั่สะเทือของเสียงที่ดังมากเกินไปแต่ถ้าดังอยู่นานก็อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดทำลายเซลล์ประสาทและปลายประสาท ทำให้หูตึง หูอื้อ หูหนวกอย่างถาวร
เสียงระเบิดประทัด ฟ้าผ่า ทำให้หูฉีกขาดไปทันทีได้ ทำให้เสียประสิทธิภาพในการทำงาน ปฏิบัติงานล่าช้า ทำให้ความถูกต้องของงานเสียไปได้
เสียงที่รบกวนมากๆทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น ความดันโลหิตสูง  เกิดโรคกระเพาะ โรคหัวใจ  ถาวะตึงเครียด  ทำให้ชีพจรเต้นผิดปกติ  กล้ามเนื้อท้องเกร็ง  หลอดเลือดเล็กๆที่มือเท้าหดตัวได้
13.  ปัญหาสารพิษ  ประเภทสารเป็นพิษ คือ สารที่ร่างกายได้รับแล้วเกิดความผิดปกติทันที  ถ้าสะสมไว้มากเกินพออาจตายได้ พิษเข้าสู่ร่างกายทางจมูก  ทางปาก  ทางผิวหนัง  เข้าร่างกาย  เข้าไปสู่กระแสโลหิต  บางชนิดอาจถูกทำลาย  บางชนิดอาจถูกขับออกทางไต  บางชนิดอาจถูกสะสมไว้ที่ตับ  ไขมัน  ฯลฯ
สารเป็นพิษมีหลายประเภท
1.สารเคมีป้องกันละกำจัดศัตรูพืชและสัตว์  ยาฆ่าแมลง  กลุ่มออแกโนคลอลีน  (ดีดีที  อัลดริน  เอ็นดริน)  กลุ่มออแกโนฟอสเฟส  (พาโรไธออน  มาลาไธออน)  ทำให้หยุดหายใจได้  กลุ่มคาร์บาเมต  (คาร์บอริลไบกอน)  พิษสูงต่อผึ้งและปลา  กลุ่มไพรีทรอย  (แอมบุช  เดซิส)  อันตรายน้อย
2.  สารเคมีปราบวัชพืช  มีมากกว่า  150  ชนิด  ตกค้างในดินได้นาน                                    
3.  สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา  มีมากกว่า  250  ชนิด  (คอปเปอร์ซัลเฟต แอนทราโคลโลนาโคล  แมนเซทดี)
4.สารเคมีปราบสัตว์แทะ  ซิงค์ฟอลไฟต์ วาฟาริน                                                                                       การใช้สารพิษเกิดอันตรายต่อผู้ใช้โดยตรงคนและสิ่งที่อยู่ใกล้เคีย' เสียภาวะสมดุลธรรมชาติ ตัวที่ช่วยกำจัด  ศัตรูให้หมดไป  ศัตรูที่เป็นปัญหาสร้างความต้านทานพิษ  ทำลาย  นก  ปลา  สัตว์ป่า  แมลง  เช่น  ผึ้ง  และแพร่พันธุ์ล้มเหลว ทำอันตรายสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ในระยะยาว เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจคุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสียหาย

14. ปัญหาขยะมูลฝอย : เกิดปัญหามลพิษของสภาพแวดล้อม เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและแพร่กระจายก่อให้เกิดความรำคายและเป็นต้นเหตุของอัคคีภัย  ขยะทำให้อากาศเสีย น้ำเน่าเสีย เป็นแหล่งพาหะนำโรคเพาะหนู แมลงวัน เกิดความรำคาญ กลิ่นเหม็นและไม่สวยงาม

อ้างอิง  
รศ. ดรทวีรัสมิ์ ธนาคม.(2547).เรื่องเล็ก..ที่เป็นเรื่องใหญ่.            

           พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:ไพร์ม ทีม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น